หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

Bachelor of Public AdministrationProgram

ข้อมูลทั่วไป

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Public AdministrationProgram

ชื่อปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
Bachelor of Public Administration (B.P.A.)

ปรัชญา

ปรัชญา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ปรัชญา
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้นำแนวทางปรัชญาปฏิบัตินิยม (pragmatism) โดยการให้ความสำคัญกับทักษะเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 และตอบรับกับผันแปรของกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน(Disruption)ที่เกิดทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้ายุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution, 4IR) โดยหลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตนักจัดการภาครัฐที่มีทักษะและความเข้าใจต่อสถานการณ์และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงกับยุคสมัยใหม่

คำสำคัญ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตเป็นองค์ความรู้ที่มีลักษณะพหุวิทยาการ เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ กอปรกับเป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น ซึ่งมีขอบข่ายศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มองค์ความรู้ด้านองค์การและการจัดการ ด้านนโยบายสาธารณะ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านการบริหารการคลังและงบประมาณ โดยรัฐประศาสนศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์ที่สำคัญมุ่งสู่แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ที่พิจารณาว่าโดยสาระแล้ว กระบวนการบริหารจัดการของภาครัฐสามารถนำเครื่องมือและเทคนิคที่มีประสิทธิภาพของภาคเอกชนมาใช้กับการดำเนินงานของภาครัฐได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเอาความรู้ทางภาคธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้กับภาครัฐก็ตามแต่เป้าหมายของภาครัฐนั้นอยู่ที่งานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะต่างจากภาคเอกชนที่เน้นกำไรหรือผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก นอกจากนี้รัฐประศาสนศาสตร์ยังให้ความสำคัญแก่คุณค่าของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมากอีกด้วย
  • ทั้งนี้ ในปัจจุบันรัฐประศาสนศาสตร์มีกระบวนทัศน์ที่สำคัญอีกแนวคิดหนึ่งคือ การบริหารงานสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance) ภายใต้สภาพการณ์ของรัฐในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับสภาพความแตกต่างหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของภาครัฐ ความสลับซับซ้อนของสังคมพหุลักษณ์ ตลอดจนความหลากหลายของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ภายในโครงสร้างของรัฐเอง ดังนั้น ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ชุมชน องค์การพัฒนาเอกชน และกลุ่มผลประโยชน์ทางวิชาชีพต่าง ๆ จึงได้เข้าร่วมดำเนินงานสาธารณะกับภาครัฐ ในรูปแบบของการจัดการภาคีอันหลากหลาย โดยผู้บริหารภาครัฐมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย เช่น ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเข้าร่วมกับหน่วยงานปกครองในการวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ชุมชนเข้าร่วมเป็นภาคีกับรัฐในการจัดการศึกษา การรักษาความปลอดภัยของชุมชน เป็นต้น กล่าวโดยสรุป แม้ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่รัฐจะไม่ผูกขาดงานสาธารณะไว้เป็นภารกิจของตนแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป ในขณะที่ภาคประชาสังคมและชุมชน ต่างเข้าร่วมในการดำเนินงานและให้บริการสาธารณะอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามภาครัฐมิอาจผลักภาระความรับผิดชอบไปให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ความรับผิดชอบต่องานสาธารณะทั้งหมดก็ยังคงเป็นของรัฐอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่รัฐหันมาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับทิศทาง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผลิตบริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยตรง
  • ในบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยนับวันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอกอย่างมากมายและรวดเร็ว อาทิ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมถึงการเกิดโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ ด้วยความตระหนักในสภาพแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ดังกล่าว จึงเห็นควรให้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารงานที่เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความรู้ ความสามารถทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกและสังคมไทย

วัตถุประสงค์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  • (1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยสามารถนำความรู้ด้านการบริหารและการจัดการไปใช้ในการปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพอิสระได้
  • (2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ มีทักษะการใช้ชีวิตและมีความทันสมัยในเทคโนโลยี

อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนาศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัญฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  • 1 เหน่วยงานราชการ
              (1) เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ)
              (2) นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
              (3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
              (4) นักทรัพยากรบุคคล
              (5) นักจัดการงานทั่วไป
              (6) พนักงานคุมประพฤติ
              (7) นักพัฒนาระบบราชการ
              (8) นักวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
              (9) นักการข่าว
              (10) เจ้าพนักงานศุลกากร
              (11) นักวิเคราะห์งบประมาณ
              (12) นักวิชาการศึกษา
              (13) นักวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
              (14) เจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
              (15) นักวิชาการแรงงาน
              (16) ทหาร
              (17) ตำรวจ
  • 2 หน่วยงานเอกชน
              (1) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
              (2) งานด้านการประกอบการเพื่อสังคม
              (3) งานองค์การพัฒนาเอกชน
              (4) พนักงานวางแผนและฝึกอบรม
  • 3 หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น
              (1) ประกอบอาชีพอิสระ
              (2) งานด้านการประกอบการเพื่อสังคม
              (3) งานองค์การพัฒนาเอกชน

172 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อาคาร 2 ชั้น 14
ถ.อิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กทม. 10600

human.dru@dru.ac.th

0-2890-1801-9 ต่อ 21410