ข้อมูลทั่วไป
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
ชื่อหลักสูตร |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร |
Bachelor of Arts Program in Chinese for Communication |
ชื่อปริญญา |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร) / ศศ.บ. (ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร) |
Bachelor of Arts (Chinese for Communication) / B.A. (Chinese for Communication) |
ปรัชญา
ปรัชญา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
ปรัชญา |
เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน เพิ่มพูนเครื่องมือในการสื่อสาร เพิ่มคุณค่าให้ผู้เรียน เพิ่มโอกาสใน การประกอบอาชีพ |
คำสำคัญ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัญฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

- ประเทศไทยและประเทศจีนมีการแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ยาวนานและใกล้ชิด ผู้นำของทั้งสองประเทศมีการเยือนกันบ่อยครั้ง ทั้งสองประเทศได้ผลักดันการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีและดำเนินการลงทุนทางการค้า โครงการความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ รถไฟจีน-ไทยระยะที่ 1 เป็นการเริ่มศักราชใหม่ของการเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนั้นอยู่ในรูปแบบความร่วมมือทั้งทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินโครงการอบรมแก่บุคลากร และเจ้าหน้าที่ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจดิจิทัล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การขจัดความยากจน การพัฒนาชนบท รวมทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภาคประชาชน นอกจากนี้ ประเทศไทยมีการตื่นตัวในเรื่องการเรียนการสอนภาษาจีนมาตลอด หน่วยงานรัฐมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ทั้งมีความร่วมมือระดับอุดมศึกษาในหลากหลายสาขาวิชา
- ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จึงเป็นหลักสูตรที่มีศักยภาพในการผลิตบุคลากรทางด้านภาษาจีนที่มีคุณภาพ และพร้อมที่จะปฏิบัติงานในองค์กรทางธุรกิจ สามารถใช้ความสามารถทางภาษามาใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบหรือเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจในกิจการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก การผลิตบัณฑิตของหลักสูตรนั้นมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีจิตสำนึกรับใช้สังคม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มีค่านิยมและภูมิใจในความเป็นไทย
วัตถุประสงค์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัญฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
- 1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพทางวิชาการด้านภาษา วัฒนธรรมและประเพณีจีน หมายถึงบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญในศาสตร์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
- 2) เพื่อผลิตบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ มีทักษะการใช้ชีวิต และมีความทันสมัยในเทคโนโลยี
- 3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการติดต่อสื่อสารภาษาจีนและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
ประธานหลักสูตร
อาจารย์
อาจารย์
อาจารย์
อาจารย์
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัญฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
- 1 เหน่วยงานราชการ อาทิ กรม/กระทรวงที่เกี่ยวข้องในด้านการต่างประเทศ
- 2 หน่วยงานเอกชน
          2.1 ด้านสายงานธุรกิจ เช่น
                       (2) ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ
                (3) ฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ
                (4) ฝ่ายขายต่างประเทศ
                (5) งานเลขานุการ
                (6) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ในวงการธุรกิจ
         2.2 ด้านสายงานบริการ เช่น
                (1) ด้านการท่องเที่ยว วางแผนและจัดโปรแกรมนำเที่ยว
                (2) ประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์และนำเที่ยว (เมื่อได้รับใบประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์ ซึ่งต้องมีการอบรม หรือเรียนเพิ่มเติมภายหลัง)
                (3) งานบริการภาคพื้นสนามบิน หรือพนักงานบริการในขบวนรถไฟความเร็วสูง (High-speed train)
         2.3 ด้านการโรงแรม เช่น
                (1) พนักงานฝ่ายต้อนรับ
                (2) พนักงานดูแลเกี่ยวกับการให้บริการส่วนบุคคลและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                 (3) ด้านงานบริการติดต่อสื่อสาร ลูกค้าสัมพันธ์
                (4) งานประชาสัมพันธ์
                (5) งานด้านธุรกิจไมซ์ (MICE) - 3 ประกอบอาชีพอิสระ เช่น
         (1) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน
         (2) นักแปลและล่าม
         (3) งานด้านธุรกิจอิสระ อาทิ การค้าขายสินค้าออนไลน์ ธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) การพัฒนาแอพพลิเคชั่น และการติดต่อประสานงานที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร - 4 หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น
         (1) บุคลากรทางการศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
         (2) ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต หรือ ศิลปศาสตร- มหาบัณฑิต (ภาษาจีน / วรรณคดี / ภาษาศาสตร์ / การเรียนการสอน / จีนศึกษา / การค้าระหว่างประเทศ) ซึ่งสามารถใช้ความรู้ในระดับปริญญาตรีเป็นพื้นฐานศึกษาต่อ รวมทั้งโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ

172 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อาคาร 2 ชั้น 14
ถ.อิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กทม. 10600
human.dru@dru.ac.th
0-2890-1801-9 ต่อ 21410